สินค้า FUTURE CROP หนุนเกษตรกรปลูก “ถั่วลิสงพันธุ์พระราชทาน” สร้างรายได้งาม
ถั่วลิสง เป็นพืชไร่ตระกูลถั่วที่เกษตรกรนิยมปลูกอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกสำคัญอยู่ที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) พบว่า สินค้าทางเลือกที่มีศักยภาพในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา คือ “ถั่วลิสงพันธุ์พระราชทาน” ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop)
หากพิจารณาด้านการผลิตและผลตอบแทนของถั่วลิสงพันธุ์พระราชทาน หรือพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 พบว่า มีพื้นที่ปลูก จำนวน 2,000 ไร่ (ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา) ให้ผลผลิตรวมทั้งหมดประมาณ 2,400 ตัน/ปี เกษตรกรผู้ปลูก จำนวน 500 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอครบุรี เสิงสางและหนองบุญมาก
เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ดอน ลักษณะดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์พระราชทาน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีรสชาติค่อนข้างหวาน กรอบนุ่มกว่าถั่วลิสงทั่วไป ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง และเป็นที่ต้องการของตลาด
ราคาเมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 120-150 บาท/กิโลกรัม
ต้นทุนการผลิตจนถึงเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 12,924 บาท/ไร่/รอบการผลิต
เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีอายุ 95-110 วัน
ให้ผลผลิตเปลือกสดเฉลี่ย 1,295 กิโลกรัม/ไร่/รอบการผลิต
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 15 – 25 บาท/กิโลกรัม (ราคา ณ เดือนมิถุนายน 2563)
สร้างรายได้เฉลี่ย 30,227 บาท/ไร่/รอบการผลิต
ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 17,303 บาท/ไร่/รอบการผลิต
นอกจากนี้ เกษตรกรได้นำผลผลิตบางส่วนมาแปรรูปเป็น ถั่วต้ม และถั่วคั่ว ด้านสถานการณ์ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70 จำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางซึ่งมารับซื้อถึงไร่ ส่วนร้อยละ 30 ส่งจำหน่ายที่ตลาดสำคัญของจังหวัด ได้แก่ ตลาดดอนแขวน เทิดไท และสุรนคร
เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido
Comentarios